Portal talk:Th/LiquidThreads
- [View source↑]
- [History↑]
Contents
Thread title | Replies | Last modified |
---|---|---|
คำว่า "editor" | 2 | 15:16, 23 April 2021 |
คำว่า information | 3 | 05:05, 23 April 2021 |
ว่าด้วยคำว่า Global | 2 | 06:10, 22 April 2021 |
คำที่ต้องพิจารณา | 1 | 11:12, 21 April 2021 |
คิดอย่างไรกับคำแปลว่า
- ผู้เขียน (เป็นคำที่ผมคิดขึ้นมาได้เมื่อเห็นคำนี้)
- นักเขียน
- บรรณาธิการ (เป็นคำที่เห็นบ่อยใน Meta-Wiki)
- ผู้แก้ไข (เป็นคำในอภิธานศัพท์ เสนอโดย Patsagorn Y. ตามประวัติการแก้ไข)
- นักแก้ไข
ส่วนตัวคิดว่า แล้วแต่บริบท หากหมายถึงพวกข้อความ/การเขียน/บทความ/บริบทส่วนใหญ่ในโครงการวิกิมีเดีย ผู้เขียนเหมาะสมที่สุด (รองลงมา นักเขียน, บรรณาธิการ, ผู้แก้ไข, นักแก้ไข ตามลำดับ) หากหมายถึงบริบทอื่น น่าจะหมายถึงบริบทที่มีความหมายตรงตัวที่สุด (บริบทที่หมายถึง ผู้ที่แก้ไข) ซึ่งควรจะใช้คำว่า ผู้แก้ไข (รองลงมาคือ นักแก้ไข)
ผมโอเคกับทั้งผู้เขียนและผู้แก้ไขครับ แต่บรรณาธิการอาจทำให้ผู้อ่านภาษาไทยเข้าใจว่าสื่อถึงกองบรรณาธิการซึ่งขัดกับเรื่องวิกิพีเดียไม่มีกองบรรณาธิการกลาง/Wikipedia has no central editorial board.
ครับ เพราะตามที่ผมลองหานิยามของบรรณาธิการในวิกิพีเดีย ผมว่ามันก็คนละแบบกัน แต่เกรงว่าอาจจะใช้ในบริบทอื่นได้เลยขอความเห็นครับ
คือผมไปเห็นคำแปลของคำนี้ที่ แม่แบบ:เพิ่งตาย ในวิกิพีเดียมาครับ แต่ใช้คำแปลว่า สารสนเทศ ในบริบทดังต่อไปนี้
current information -> สารนิเทศล่าสุด
ซึ่งผมมองว่ามันเป็นคำแปลที่แปลกพอสมควร และคำว่า information นี้พบบ่อยในการแปลด้วย เลยจะขอความเห็นว่ามีความเห็นอย่างไรบ้างสำหรับการแปลคำนี้ในบริบททั่วไป (เช่น Contact information, travel information, information of things in black hole)
ซึ่งหากดูคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ"/"Information Technology" แล้ว คำว่า Information อาจหมายถึง กลุ่มของรายละเอียด, รายละเอียดใด ๆ ไม่เจาะจง หรือเปล่าครับ แต่เนื่องจากผมขอความเห็นในบริบททั่วไป ฉะนั้นผมคงไม่แปลคำว่า information ว่าเป็น สารสนเทศ เพียงอย่างเดียวหรอกนะครับ
โดยอันนี้คือคำแปลที่น่าจะใช้ได้
- รายละเอียด
- สารสนเทศ
- ข้อมูล (ผมมองว่าคำนี้ตรงกับคำว่า data เสียมากกว่า)
ส่วนตัวอยากยึดตามข้อแรกมากกว่า ส่วน สารสนเทศ ไว้ใช้อีกบริบทหนึ่ง
เท่าที่เคยพบและพอจำได้ พบว่าจะมีการแปลก่อนผมที่แปลดังนี้ครับ
- Information —> สารสนเทศ
- Info —> สารนิเทศ
- Data —> ข้อมูล
ซึ่งเห็นด้วยกับอันแรกและอันที่สาม เพราะในบริบทภาษาอังกฤษเข้าใจว่าคำว่า information และ data มันต่างกันมาก (ข้อมูลที่ประมวลแล้วกับข้อมูลดิบ) แต่ในภาษาไทยไม่ค่อยเท่าไหร่ อย่าง For more information on foo ก็คงแปลไทยว่า "สำหรับสารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับ..." แต่ยังใช้ว่า "สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ..." ได้เหมือนกันแถมแบบหลังรู้สึกใช้บ่อยกว่า ผมคิดว่าตรงนี้คงต้องค่อย ๆ ใช้ให้ชินมากกว่าเลยใช้สารสนเทศครับ (ก็มันต่างกัน...) แต่สงสัยว่าสารนิเทศมาจากไหน ขอดูท่านอื่นครับ
- ผมเข้าใจว่าอันที่คุณเห็นด้วยคือในข้อความของคุณนะครับ
- ไม่แน่ใจว่า info เป็นคำที่ย่อมาจาก information หรือเปล่าครับ ซึ่ง information น่าจะมาจาก inform (v.)
ปล1: Detail -> รายละเอียด ปล2: ที่ผมขอความเห็น เพียงเพราะว่านอกจากการแปลใน translationwiki แล้ว คำว่า information ก็ไม่น่ามีใครแปลเป็นสารสนเทศนะครับ หากไม่ใช่คำจำพวก IT, GIS, เป็นต้น (ถึงแม้มันจะแปลแบบนั้นก็จริง) แต่ทั้งนี้คงเป็นเพราะความนิยมของการแปลครับ เลยไม่แน่ใจว่าจะยึดตามรากศัพท์หรือตามความนิยมการแปลดังกล่าวด้วย (พูดอีกทางหนึ่งคือยึดตามแบบอย่างของทีมแปลทีมอื่น เช่น Ubuntu Translation Team, Google Localization Team เป็นต้น)
ผมเข้าใจว่า "สารนิเทศ" กับ "สารสนเทศ" เป็นความหมายเดียวกัน แต่ผมเห็นว่าสารนิเทศมีการใช้ในสังคมไทยก็ไม่พบคำนี้บ่อยครับ (ที่คุ้นเคยก็ในวงการบรรณารักษ์ ตำรวจกับหน่วยงานราชการบางส่วน) ถ้าเทียบกันแล้วผมว่าสารสนเทศน่าจะคุ้นเคยและแพร่หลายกันมากกว่า ส่วนข้อความไหนที่มีการใช้ information/info อาจลองพิจารณาว่าเมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้วใช้ "สารสนเทศ" หรือ "ข้อมูล" จะเข้าใจได้ดีกว่ากัน เพราะในบางบริบทของภาษาไทยคำว่าข้อมูลก็สามารถใช้แทนสารสนเทศได้ในบางครั้งครับ อันนี้เฉพาะกับ information ไม่รวมกับกรณี data
ปัญหาคือผมได้สังเกตหลาย ๆ หน้าใน Meta-Wiki ที่มีคนแปลคำนี้ว่า "ทั่วโลก" แต่มันไม่น่าจะตรงกับบริบทข้อความครับ (เช่น Global locks)
ซึ่งคำนี้มันแปลได้ว่า ทั่วโลก ก็จริง แต่ในบริบทอื่น เช่น global variable, global sysops มันก็คงจะแปลก ๆ นะครับ
ถ้าอย่างคำว่า "local" แปลได้ว่า "ท้องถิ่น" ก็ไม่ค่อยแปลก เพราะมันไม่จำเป็นต้องยึดกับประเทศใด ชุมชนใด หรือดาวเคราะห์ใดเป็นหลัก แต่ global ถ้าแปลเป็น "ทั่วโลก" มันก็เหมือนกับว่าเรามองคำแค่บริบทเดียวหรือเปล่าครับ
เลยอยากจะขอสอบถามความเห็น (หากมี) ว่าหากเป็นในบริบทดังกล่าว คำนี้ควรใช้แปลเป็นคำอื่นดีไหมครับ
จะว่าไปแล้วคำที่ใช้กันอยู่ใน interface ของวิกิพีเดียไทยก็ใช้ได้ครับ อย่างคำว่า ส่วนกลาง/กลาง
global: [ส่วน]กลาง global locks: การล็อก[ส่วน]กลาง
หรือจะใช้คำตามความหมายเลยก็ได้ครับ เช่น
global locks: การล็อก(ทุก/ข้าม)โครงการ
ซึ่งหากมีความเห็นที่เหมาะสมจะได้ลงในอภิธานศัพท์สถานีย่อยครับ ขอบคุณครับ
ผมเห็นด้วยที่จะใช้ว่าทุกโครงการหรือข้ามโครงการครับ (เพราะลองไปแปลอินเตอร์เฟซเปลี่ยนชื่อพอใช้คำว่าทั่วโลกมันแปลก ๆ) ซึ่งจะเลือกใช้อันไหนคงแล้วแต่บริบทและความเห็นของผู้แปลครับ
ครับ ที่เท่าที่ผมสำรวจมาเหมือนชุมชนการแปลจะไม่ค่อยไปในทางเดียวกันหรือ active สักเท่าไร หรืออาจเป็นเพราะไม่ได้มีมาตรฐานชัดเจน (อันนี้ไม่แน่ใจว่าชุมชน translatewiki ต้องการมาตรฐานหรือบรรทัดฐานขนาดไหนนะครับ เพราะเพิ่งเข้ามาไม่กี่เดือนเอง)
อันที่จริงการแปลเก่าก็น่าจะแปลจากผู้แปลเก่าพอสมควร หากจำเป็นจะเปลี่ยนการแปล ถ้ารออภิปรายก่อนคงจะไม่ได้การหรือไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ คิดว่าหากเห็นบริบทที่เหมาะสมกว่าและแน่ใจพอสมควรก็จะปรับเปลี่ยนได้เลย ทว่าหากแต่มีการย้อนกลับการแก้ไขจึงค่อยชี้แจง และหากชี้แจงไม่ลงตัวจึงค่อยขอความเห็นชุมชน (ที่นี้?)
(ตอบคำถามแม้ว่าจะการอภิปรายนี่มีอายุมากแล้ว)
- ผู้ใช้ที่ยังเคลื่อนไหว
- ผู้เขียน (ในบริบทวิกิพีเดีย/วิกิมีเดีย)
- ซึ่งก็มีอยู่หลายจุดที่แปลว่า "บรรณาธิการ" ซึ่งตามจริงแล้วก็แปลได้คำนี้นะครับ แค่ผมคิดว่าอาจจะดูแปลกไปหน่อย แต่เป็นคำที่ดูทางการมากครับ
- ผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ (ตามชุมชน)